เมนู

แก้ว่า เหมือนอย่างว่าในอริยมรรคที่ 3 ท่านกล่าวการละไว้อย่างนี้ว่า
เพราะละโอรัมภาคิยสังโยชน์ทั้ง 2 มีสักกายทิฏฐิเป็นต้น แม้นที่ยังละไม่ได้
ย่อมเป็นการกล่าวสรรเสริญ (อริยมรรคที่ 3) เพื่อจะให้เกิดความอุตสาหะ
แก่เหล่าชนผู้มีความขวนขวาย เพื่อบรรลุอริยมรรคที่ 3 นั้น ฉันใด, ใน
ตติยฌานนี้ ท่านกล่าวความสงบระงับวิตกวิจาร แม้ที่ยังไม่สงบราบคาบไว้
เป็นการกล่าวสรรเสริญ (ฌานนี้) ฉันนั้นเหมือนกัน. เพราะเหตุนั้น ท่าน
จึงกล่าวใจความนี้ไว้ว่า เพราะก้าวล่วงปีติ และเพราะความสงบระงับวิตกวิจาร
ดังนี้.
ในคำว่า อุเปกฺขโก จ วิหาสึ นี้ มีวินิจฉันดังนี้ :- ธรรมชาติ
ที่ชื่อว่า อุเบกขา เพราะอรรถว่า เพ่งโดยอุบัติ. อธิบายว่า ย่อมเห็นเสมอ
คือย่อมเห็นไม่ตกไปเป็นฝักเป็นฝ่าย. บุคคลผู้พร้อมเพรียงด้วยตติยฌาน ท่าน
เรียกว่า ผู้มีอุเบกขา. เพราะความเป็นผู้ประกอบด้วยอุเบกขานั้น อันสละสลวย
ไพบูลย์ มีกำลัง

[อุเบกขา 10 อย่าง]


ก็อุเบกขามีอยู่ 10 อย่าง คือ
1. ฉฬังคุเปกขา อุเบกขาในองค์ (คืออารมณ์) 6.
2. พรหมวิหารรุเปกขา อุเบกขาในพรหมวิหาร.
3. โพชฌังคุเปกขา อุเบกขาในโพชฌงค์.
4. วิริยุเปกขา อุเบกขาในวิริยะ.
5. สังขารุเปกขา อุเบกขาในสังขาร.
6. เวทนุเปกขา อุเบกขาในเวทนา.

7. วิปัสสนุเปกขา อุเบกขาในวิปัสสนา.
8. ตัตรมัชฌัตตุเปกขา อุเบกขาในความวางตนเป็นกลางใน
ธรรมนั้น ๆ.
9. ฌานุเปกขา อุเบกขาในฌาน.
10. ปาริสุทธุเปกขา อุเบกขาในความบริสุทธิ์.
อุเบกขาแม้ทั้ง 10 อย่าง ดังกล่าวมานี้ พึงทราบตามนัยที่ท่านกล่าว
ไว้แล้ว ในวรรณาแห่งภยเภรสูตร ในอรรถกถามัชฌิมนิกาย ชื่อปปัญจสูทนี
หรือในอรรถกถาธรรมสังคหะ ชื่ออัตถสาลินี โดยนัยอันมาแล้วในที่นั้น ๆ
และด้วยความสามารถแห่งสังเขปหรือภูมิ บุคคล จิต อารมณ์ ขันธสังคหะ เอกขณจิต
และกุสลติกะ. ก็อุเบกขา เมื่อข้าพเจ้าจะกล่าวไว้ในอธิการนี้ ย่อมทำนิทาน
แห่งพระวินัยให้เป็นภาระหนักยิ่ง, เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงไม่กล่าว.

[อรรถาธิบายลักษณะแห่งอุเบกขา]


ส่วนอุเบกขาที่ประสงค์เอาในอธิการนี้ โดยลักษณะเป็นต้น พึงทราบ
ว่า มีความมัธยัสถ์ (ความเป็นกลาง) เป็นลักษณะ มีความไม่คำนึงเป็นรส
มีความไม่ขวนขวายเป็นปัจจุปัฏฐาน มีความสำรอกปีติเป็นปทัฏฐาน.
ในอธิการว่าด้วยตติยฌานนี้ พระอาจารย์ผู้โจทก์ท้วงว่า ก็ฌานุเบกขานี้
โดยอรรถก็คือ ตัตรมัชฌัตตุเบกขานั่นเอง และฌานุเบกขานั้น ก็มีอยู่แม้ใน
ปฐมฌานและทุติฌาน เพราะฉะนั้น ฌานุเบกขานี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า
ก็ควรจะตรัสไว้แม้ในปฐมฌานและทุติยฌานนั้น อย่างนี้ว่า อุเปกฺขโก จ
วิหาสึ ดังนี้ มิใช่หรือ ? เพราะเหตุไร จึงไม่ตรัสฌานุเบกขานั้นไว้เล่า ?
เฉลยว่า เพราะมีกิจยังไม่ปรากฏชัด. จริงอยู่ กิจแห่งฌานุเบกขานั้น
ในปฐมฌานและทุติยฌานนั้น ชื่อว่ายังไม่ปรากฏชัด เพราะถูกปฏิปักขธรรม